จากที่กล่าวมาทั้งสี่ตอนที่แล้ว ความพอเพียงด้านโทรคมนาคมเป็นอีกหนึ่งความพยายามในการสร้างกรอบแนวทางในการ วางโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่พอเหมาะพอควรไม่มากไปน้อยไปเพื่อให้ การลงทุนและการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างสมดุลย์ แน่นอนว่าคำว่า "สมดุลย์" แฝงไว้ด้วยความหมายหลายประการ ทั้งในเชิงเทคนิค สังคม การดำรงชีวิตและการใช้ทรัพยากร ซึ่งถ้ามองลึกลงไปในรายละเอียดจะพบว่า      ความพอเพียงไม่ได้หมายถึงความตระหนี่หรือใช้อย่างประหยัดแต่เป็นการใช้อย่าง "เหมาะสม" และ "มีเหตุมีผล" นั่นหมายถึงว่าเราอาจใช้อุปกรณ์สื่อสารในราคาสูงประกอบไปด้วยฟังก์ชันการทำ งานมากมายที่เรา "จำเป็น" ต้องใช้แต่ไม่ได้ซื้อหามาใช้เพียงเพื่อคิดว่าจะสามารถทำให้ตัวเราดูดีดูร่ำรวยตรงกับคำว่าConspicuous Consumption หรือบริโภคนิยม หรือไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้แต่พยายามสร้างความจำเป็นให้เกิดขึ้นกับตัว ผลของการบริโภคนิยมนี้ก็คือผลอันเกิดจากการกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการที่ มองในเชิงเทคนิคแล้วมีความจำเป็นเพราะกระแสของเทคโนโลยีมีการเปลี่ยน แปลงอยู่ตลอด แต่ในเชิงสังคม การดำรงชีวิตและการใช้ทรัพยากร การกระตุ้นตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการใช้หรือบริโภคบริการในอนาคต อาจไม่เหมาะสมนัก แน่นอนว่าผู้ให้บริการอาจไม่เห็นด้วยนักซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกและคงจะไม่ สามารถหยุดยั้งการกระตุ้นตลาดในรูปแบบนี้ได้ เนื่องจากผู้ให้บริการคือผู้ลงทุนเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูง การดำเนินธุรกิจจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีมากกว่าผลกระทบอย่างอื่นที่อาจตามมา การสร้างความตระหนักในฝากของผู้บริโภคจึงน่าจะเป็นทางออกที่ดี
 
 
     การสร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภคก็เปรียบได้กับการสร้างภูมิคุ้มกันให้ กับคนและสังคมนั้นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นการให้การศึกษาแก่บุคคลให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีและการรู้ถึงประโยชน์ และโทษของการสื่อสารยุคใหม่จึงน่าจะเป็นอีกแนวทางที่เหมาะสม แต่บ้านเรามักจะพูดแต่การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างการโอกาสและการเข้าถึงความ รู้ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่สังคมควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก การสร้างภูมิคุ้มกันต่างหากที่เราควรต้องรีบดำเนินการเพื่อให้สังคมของเรามีความเข้มแข็งและทนทานต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ
 
     อีกหนึ่งอย่างที่เกี่ยวข้องคือแผนการให้บริการ USO ร่างแผนUSO ฉบับใหม่ได้ประกาศในหน้าเวบของ กสทช.แล้ว ถ้าแผนนี้เพิ่มการตระหนักถึงผลกระทบทางสังคมและใส่ความพยายามในการสร้างความ คุ้มค่าของการใช้งานโครงข่ายควบคู่ไปกับการสร้างโอกาสและการเข้าถึงมากกว่าจะมองแต่ปริมาณการเข้าถึงและการวัดผลเชิงตัวเลขของคุณสมบัติของระบบ  เช่น ความเร็ว ก็น่าจะดีไม่น้อย
 
     ลองจินตนาการว่าการวางโครงข่ายของประเทศไทยนั้นได้รับความร่วมมือกับทุก ฝ่ายในการร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนทำให้การวางโครงข่ายไม่ซ้ำซ้อน มีการแบ่ง (Sharing) การใช้งานโครงข่ายบนผลประโยชน์ของประเทศโดยรวม การวางสถานีฐานมีการร่วมกันใช้สถานีฐานทำให้ทุกสถานที่ไม่ต้องมีเสาของทุก ผู้ให้บริการ สภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ของเมืองจะดูดีอย่างมาก ประชาชนทั้งประเทศได้รับความรู้ในการใช้เทคโนโลยี มีการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ทำให้สังคมลดปัญหาอาชญากรรม อุปกรณ์สื่อสารถูกใช้อย่างคุ้มค่า ลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบการสร้างโอกาสการเข้าถึงแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงทั้งความครอบคลุม และราคา ประเทศเราจะน่าอยู่ขนาดไหน