การให้บริการโทรคมนาคมอย่างพอเพียงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากในการนิยามและการ ปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างของปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาโดยเฉพาะที่สำคัญๆ คือ สภาพภูมิประเทศ วัฒนธรรม การดำรงชีวิต เป็นต้น

     แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญประการหนึ่งและเป็นสิ่งที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนคือการสร้างความรู้ (Knowledge) ให้กับประชาชนเพื่อเป็นส่วนสนับสนุนให้ชุมชนนั้นมีความเข้มแข็งในด้านต่างๆ ทำให้ประชากรในชุมชนคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุมีผล กลไกสำคัญประการหนึ่งในการขยายสังคมฐานความรู้ให้เกิดในพื้นที่ต่างๆอย่าง เท่าเทียมคือการกระจายโครงข่ายด้านการสื่อสารให้ครอบคลุม ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ การสร้างสังคมฐานความรู้กับการขยายโครงข่ายอะไรควรดำเนินการก่อน หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาไก่กับไข่ว่าสิ่งใดเกิดก่อนกัน จากผลการสำรวจพบว่า ในมุมของผู้บริโภคนั้นมองว่าการที่จะสร้างสังคมฐานความรู้ให้เกิดขึ้นได้ บริการด้านการสื่อสารควรจะเป็นบริการที่มีความสะดวกในการใช้งาน เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของคนในชุมชน และที่สำคัญคือการสร้างโอกาสของงาน นั่นหมายถึงประชาชนส่วนมากมองว่าควรจะมีโครงข่ายก่อนเพื่อสนับสนุนการเรียน รู้และการสร้างงาน แต่คำว่าการสร้างสังคมฐานความรู้นั้นต้องรวมถึงการสร้างความรู้ในการใช้งาน ให้เกิดประโยชน์ (Valued added) ให้กับชุมชนและตัวผู้บริโภคเองด้วยมากกว่าเป็นเพียงแค่เครื่องมือในการเข้า ถึงข้อมูลซึ่งมีทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์และข้อมูลที่เป็นโทษต่อสังคมโดยรวม ดังนั้นมิติของผู้บริโภคในความพอเพียงของโครงข่ายโทรคมนาคมจึงเป็นเพียงแค่ มิติเดียวที่ต้องการตอบสนองความต้องการของตัวเองจากสิ่งเร้า โดยอาจเปรียบเทียบกับสังคมเมืองที่มีการเข้าถึงโครงข่ายและข้อมูลต่างๆได้ ง่ายกว่า แต่มิติของการสร้างจิตสำนึกหรือจริยธรรมเป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องหา มาตรการในการสร้าง

 


     มิเช่นนั้นแล้วการกระจายโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมจะกลายเป็นการกระจาย ความเสื่อมของสังคมไปสู่สังคมชนบทและจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมาย ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการแก้ปัญหาความยากจนที่ทำกันมาตลอดโดยการให้เงิน หรือการให้กู้เงินแต่ไม่ได้มีการสอนให้รู้จักใช้เงินหรือสอนให้รู้จักการลงทุน ความยากจนก็ยังคงอยู่มิได้ถูกแก้ไขอะไร บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมถ้าคิดในมิติของแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ควรมุ่งเน้นแต่การกระจายบริการโทรคมนาคมให้ทั่ว ถึงเพียงอย่างเดียวโดยพิจารณาแต่เพียงว่าการสร้างบริการโทรคมนาคมทั่วถึงจะก่อให้เกิดการโอกาสและความเท่าเทียมในการแสวงหาความรู้และมองว่าบริการโทร คมนาคมจะเป็นเครื่องมือในการกระจายความรู้ไปยังชุมชนต่างๆ ในทางตรงข้ามถ้าไม่มีการเตรียมการในการให้ความรู้ด้านสังคมและจริยธรรม บริการ USO นี้อาจกลายเป็นคมมีดอีกด้านของดาบที่ทำลายสังคมมากกว่า และสิ่งที่ได้คือการกระจายความเสื่อมของสังคมอย่างทั่วถึง