(เมื่อวันที่ 1 มีนาคม)  สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการสร้างความตระหนักในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมผุดแนวคิดจัดตั้งศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัย

ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับกิจการโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการโทรคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการ 8 ราย   ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  ได้แก่

1.        บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัทในเครือ  AIS

2.      บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC

3.       บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ TRUE ONLINE

4.       บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT

5.       บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT

6.       บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ Symphony

7.       บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) หรือ CS – Loxinfo

8.       บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด หรือ UIH

โดยได้รับเกียรติจาก นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ร่วมเป็นสักขีพยาน และ ดร.มนต์ชัย   หนูสง  นายกสมาคม  กล่าวเปิดงาน     ณ อาคารหอประชุม ชั้น 2  สำนักงาน กสทช.  

การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจะร่วมมือกันพัฒนาสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างความตระหนักในด้านการดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนดและมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งจะหารือร่วมกันเรื่องการจัดตั้งศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์สำหรับกิจการโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย หรือ Thailand Telecommunication CERT (TTC-CERT) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน และผู้ใช้บริการทางการเงินที่ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม ให้สามารถใช้บริการได้อย่างไร้กังวลและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยฯ มีความมุ่งมั่นและตั้งใจอย่างเต็มที่และตระหนักถึงการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการส่งเสริมให้โครงข่ายโทรคมนาคมมีความมั่นคงปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ เพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายของรัฐ อาทิ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่กำหนดให้ปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ เป็นปัญหาความมั่นคงเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการแก้ไข  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่สนับสนุนให้มีการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยการจัดตั้งศูนย์การเฝ้าระวังและรับมือภัยคุกคาม รวมถึงแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ที่มีแนวคิดในการสร้างความเชื่อมั่นและคุ้มครองความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับผู้บริโภคในการใช้บริการโทรคมนาคม ซึ่งการลงนามในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้มีการดำเนินงานร่วมกัน และภาคเอกชนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมสามารถจัดตั้งศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์สำหรับกิจการโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยได้ในอนาคตอันใกล้นี้

rsz 231a4092

rsz 231a4105

rsz 231a4243

20190301170824

20190301170800

20190301170840

231A4133

231A4138

rsz 231a4152

rsz 231a3968

2019 3 1 54314