7  มีนาคม 2562        จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 17 เรื่อง เจาะลึก พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ ’62  คุ้มกันหรือควบคุมพื้นที่ออนไลน์ ณ อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 
 
  
Cyber070362
 

 ร่วมเสวนาโดย

                       นายวีระ รัตนแสงเสถียร ประธานคณะทำงาน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่ากฎหมายนี้ระบุถึงความคุ้มครอง รักษา ข้อมูลไซเบอร์ของประชาชน ซึ่งมีคณะกรรมการดูแล ผ่านคณะกรรมการกำกับดูแล และศูนย์ควบคุม พ.ร.บ.ไซเบอร์นี้ จะดีกว่าฉบับเก่า โดยมีการใช้อำนาจศาล และมีกฎข้อบังคับที่มุ่งปกป้องคุ้มครอง USER จัดระบบปกป้องข้อมูลความปลอดภัยไซเบอร์ระดับประเทศ ไม่ให้ภัยคุกคาม โจมตีสร้างความเสียหาย ให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยกำหนดภัยคุกคามทาง Cyber ไว้ 3 ระดับ คือ ไม่ร้ายแรง  ร้ายแรง และวิกฤต     หลายฝ่ายเห็นพ้อง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ฉบับเก่า มีปัญหามาก แต่พอใช้ พ.ร.บ.ไซเบอร์ฉบับใหม่ การใช้อำนาจต้องผ่านการกลั่นกรองตามลักษณะภัยคุกคาม และขออำนาจศาลพิจารณาการกระทำความผิดทางอินเทอร์เน็ต และใช้กฎหมายอาญา ควบคู่ในคดีฉ้อโกง       สิ่งสำคัญการฟ้องละเมิด จะทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไป และทุกหน่วยงานต้องหันมาลงทุนระบบ เพื่อป้องกันความปลอดภัยไซเบอร์(Cyber Security)

             นายรอม หิรัญพฤกษ์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านนโยบายและผลกระทบ คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่าความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ภัยคุกคามที่โดน มักเกิดในภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนต้องตื่นตัว เพราะการลักขโมยอีเมล ขโมยข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ต้องจัดระบบดูแล ถ้าเป็นผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง เพราะแฮกเกอร์ ที่โจมตีระบบ มาได้จากทั่วโลก  พ.ร.บ.ไซเบอร์ฉบับนี้ที่ออกมา ถือว่าดีกว่า พ.ร.บ.เก่า โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ ที่พยายามทำออกมาสร้างการป้องกันสถานภาพของประเทศ และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเลย ทุกคนเป็นเจ้าของข้อมูล เพราะภัยจริงๆ มาจากดาต้าที่ให้ใช้งานจากแพลตฟอร์มต่างประเทศ เช่น กูเกิล เฟซบุ๊ก ไลน์ ที่จะมีกลไกปกป้องลูกค้า และปกป้องการถูกเจาะข้อมูลส่วนตัวไปให้ร้านค้า ธุรกิจ เป็นต้น

             นายแพทย์สุธี ทุวิรัตน์ กรรมการสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ หรือ TISA (Thailand InformationSecurity Association)    กล่าวว่า พ.ร.บ.ไซเบอร์ จะบังคับกลุ่มอุตสาหกรรม หรือบริการสาธารณูปโภค อาทิ ไฟฟ้า ประปา การเงิน การธนาคาร การขนส่งคมนาคม ต้องจัดระบบรองรับ ป้องกันการถูกโจมตี ป้องกันระบบล่มด้วย นอกจากนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะตามมา หัวใจหลักก็คือ คุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลด้วย    ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายไซเบอร์ ระบุ พ.ร.บ.ไซเบอร์มุ่งเป้าสร้างมาตรฐานในการดูแลความปลอดภัยของระบบ ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ขณะที่เครือข่ายพลเมืองเน็ต ชี้ช่องว่างที่มีความไม่ชัดเจนอาจทำให้เจ้าหน้าที่ใช้ในทางมิชอบ

 
20190326 1 hotnews