ตามที่ผู้ประกอบการโทรคมนาคม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  บริษัท  แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด  บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท  เอแอลที  เทเลคอม จำกัด (มหาชน)  บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์  เทเลคอม จำกัด (มหาชน)   บริษัท เคเบิลคอนเนค จำกัด    สมาชิกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย  ในพระบรมราชูปถัมภ์   ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือการสร้างความตระหนักในด้านการจัดระเบียบสายสื่อสาร เมื่อวันที่ 5  เมษายน พ.ศ. 2562  โดยมีความประสงค์ร่วมกันให้ความร่วมมือต่อภาครัฐในการจัดระเบียบสายสื่อสารด้วยวิธีการต่างๆ นั้น

                ผู้ประกอบการโทรคมนาคมดังกล่าว  จึงได้ร่วมกันหาวิธีการจัดระเบียบสายสื่อสารให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่รกรุงรัง  สร้างความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงปรับปรุง ภูมิทัศน์ให้ดูสวยงาม  โดยได้คิดค้นอุปกรณ์ยึดสาย Drop Wire ชนิดใหม่ ซึ่งถูกเรียกว่า “อุปกรณ์ยึดสาย Drop Wire แบบคู่ ” หรือ “Double Hook Clamp Drop Wire (TCT Version 1)”  ให้มีความสามารถในการจับยึด Clamp Drop Wire  ให้คงทน ไม่หลุดหล่นลงมาสร้างความไม่ปลอดภัยต่อประชาชน และใช้พื้นที่ ในการติดตั้งน้อยลง  สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงการติดตั้งสาย Drop Wire ที่มากขึ้น ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2563 ผู้ประกอบการโทรคมนาคมได้ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวงทดลองใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวในการจัดระเบียบสายสื่อสารถนนเพชรบุรีเป็นที่แรก  และจะมีการขยายผลต่อการจัดระเบียบสายสื่อสารในเส้นทางอื่นๆต่อไป  

                นอกจากอุปกรณ์ยึดสาย Drop Wire แบบคู่ แล้ว ผู้ประกอบการโทรคมนาคมดังกล่าว  ได้ร่วมกันคิดค้นประกับจับยึดสายสื่อสารให้เป็นระเบียบ  และอุปกรณ์จับยึดสายเคเบิลบนคอนสื่อสาร(Clevis) ซึ่งอุปกรณ์ทั้งสามชนิดนี้  ถือเป็นนวัตกรรมใหม่  ที่สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และผู้ประกอบการโทรคมนาคม  มีความประสงค์ให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายตามความเหมาะสม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

p002

p003